การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563
การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ดำเนินอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายแรกนอกประเทศจีน[2] การคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศพบผู้ป่วยประปรายตลอดเดือนมกราคม ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางมาจากหรือเป็นผู้พำนักอยู่ในประเทศจีนแทบทั้งสิ้น การแพร่เชื้อท้องถิ่นที่มีรายงานรายแรกมีการยืนยัน เมื่อวันที่ 31 มกราคม[3] จำนวนผู้ป่วยยังมีน้อยตลอดเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีผู้ป่วยยืนยัน 40 ราย เมื่อสิ้นเดือน แต่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากในกลางเดือนมีนาคม ซึ่งมีการระบุสาเหตุจากกลุ่มการแพร่เชื้อหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดที่การชกมวยไทย ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม[4] ผู้ป่วยยืนยันแล้วเพิ่มเกิน 100 คนต่อวัน ในอีก 1 สัปดาห์ต่อมาการตอบสนองของรัฐบาลต่อการระบาดเริ่มจากการคัดกรองและการติดตามการสัมผัส มีการคัดกรองโควิดตามท่าอากาศยานนานาชาติ ตลอดจนที่โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางหรือสัมผัส[5] มีการสอบสวนโรคกรณีที่เกิดกลุ่มการระบาด กระทรวงศึกษาธิการเน้นการเฝ้าระวังตนเอง การรักษาความสะอาดโดยเฉพาะการล้างมือ และการเลี่ยงฝูงชน (หรือใส่หน้ากากอนามัยแทน)[6] แม้บุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยงสูงจะได้รับคำแนะนำให้กักตนเอง แต่ยังไม่มีคำสั่งจำกัดการเดินทางจนวันที่ 5 มีนาคม[7] และวันที่ 19 มีนาคม มีประกาศเพิ่มเติมให้ต้องมีเอกสารการแพทย์รับรองการเดินทางระหว่างประเทศ และคนต่างด้าวต้องมีประกันสุขภาพ[8][9] ปลายเดือนมีนาคม สถานที่สาธารณะและธุรกิจห้างร้านได้รับคำสั่งให้ปิดในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจังหวัด[10] นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีผลวันที่ 26 มีนาคม[11] และมีประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาล ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563[12] พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินยังสั่งงดจำหน่ายสุราชั่วคราวและให้ประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดรัฐบาลถูกวิจารณ์อย่างหนักจากการรับมือวิกฤตการณ์ในหลายด้าน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังเกิดความกังวลต่อการกักตุนและโก่งราคาขายหน้ากากอนามัย รัฐบาลเข้าควบคุมราคาและแทรกแซงการจัดจำหน่าย[13] แต่ยังไม่สามารถป้องกันการขาดแคลนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ และเกิดกรณีอื้อฉาวจากกรณีที่ประชาชนสงสัยว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการลักเอาจากคลัง[14][15][16] นอกจากนี้ รัฐบาลยังถูกวิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายข้อกำหนดการเดินทางระหว่างประเทศและการกักโรค ลงมือไม่เด็ดขาดและล่าช้า และการสื่อสารแบบกลับไปกลับมา[17][18] การสั่งปิดธุรกิจห้างร้านในกรุงเทพมหานครโดยพลัน ทำให้คนงานหลายหมื่นคนเดินทางกลับภูมิลำเนา ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเข้าไปอีก สะท้อนภาพความล้มเหลวของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ[19]

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563

วันแรกมาถึง 13 มกราคม พ.ศ. 2563 (7 เดือน และ 6 วัน)
สงสัยป่วย‡ 397,276 คน
หาย 3,198 คน[1]
โรค โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้ป่วยต้นปัญหา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
ยืนยันป่วย 3,381 คน[1]
สถานที่ ประเทศไทย
ต้นกำเนิด อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
มีอาการรุนแรง 0 คน
เสียชีวิต 58 คน[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 http://Coronamapper.com http://www.cidrap.umn.edu/news-perspective/2020/01... http://www.who.int/csr/don/14-january-2020-novel-c... //www.worldcat.org/issn/0362-4331 http://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/... https://www.health.qld.gov.au/news-events/health-a... https://www.abc.net.au/news/2020-02-11/westerdam-c...